Animated Blue Pencil Animated Blue Pencil

วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันพุธที่ 28 ตุลาคม 2558 เวลา 12.30-15.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

  • ก่อนการเรียน อาจารย์ก็ให้ทุกคนในห้อง ลิงก์บล็อกที่ทำในวิชาเรียนนี้ เชื่อมโยงหากันจนครบ
  • กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้ คือ การทำสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย 2 แบบด้วยกัน

  • เมื่ออาจารย์นำตัวอย่างมาให้ดู และบอกวิธีการทำ สมาชิกในกลุ่มก็ลงมือทำสื่อเพลงก่อน โดยแบ่งหน้าที่กัน วาดรูป เขียนตัวหนังสือ ระบายสี ตกแต่งช่วยกัน





  • เมื่อทำสื่อเพลงสำหรับเด็กปฐมวัยเสร็จแล้ว ก็ศึกษาการทำสื่ออีกชิ้น เพื่อเป็นแนวทางในการทำผลงานจริงมาส่งอาจารย์ จากนั้นอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานของตนเอง และร้องเพลงตามผลงานนั้นด้วย

  • งานที่ได้รับมอบหมายในสัปดาห์นี้ คือ สื่อการเรียน 2 ชิ้น โดยทำเป็นคู่ ให้ทำเป็นการบ้านและนำมาส่งในชั่วโมงเรียนต่อไป


...จากการเรียนในวันนี้...
-  ทำให้รู้และมีทักษะในการทำสื่อที่หลากหลายมากขึ้น 
-  ทำให้รู้ว่าเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย ควรจะมีภาพประกอบคำต่าง ๆ หรือ 
การใช้ภาพแทนการเขียนคำ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติด้วย
-  ทำให้ได้ความรู้ เทคนิคเกี่ยวกับการแต่งเพลง การคิดคำศัพท์ต่าง ๆ 
ที่เด็กปฐมวัยควรเรียนรู้ เกิดทักษะในการระบายสี และทำงานเป็นกลุ่ม

การนำความรู้มาประยุกต์ใช้
  • สามารถทำสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีความหลากหลายมากขึ้น
  • เป็นแนวทางในการทำสื่อให้พัฒนาในชิ้นงานต่อ ๆ ไป
  • สามารถนำไปบูรณาการในการสอนได้หลายวิชา ตามความต้องการที่จะให้เด็กได้เรียนรู้
  • ใช้ในการประดิษฐ์ หรือทำของที่ระลึก ตกแต่งได้
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : มีความกระตือรือร้น ตั้งใจในการเรียน การทำงานร่วมกับเพื่อน ๆ ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนช่วยกันคิด ช่วยกันทำอย่างตั้งใจ และมีเรื่องตลก เสียงหัวเราะมาสอดแทรกในการทำงานด้วย ทำให้ทำงานอย่างมีความสุข ไม่เครียด
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใจดีมาก เข้าใจ และยินดีให้คำแนะนำแก่นักศึกษา เตรียมการสอนมาดีทุกครั้ง จึงทำให้การเรียนเป็นไปตามขั้นตอน




วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันพุธที่ 21 ตุลาคม 2558 เวลา 12.30-15.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
  • กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้ คือ การผลิตสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ จับคู่ภาพเหมือน ภาพตัดต่อ จับคู่ภาพกับเงา สังเกตรายละเอียดของภาพ และจัดหมวดหมู่
  • ซึ่งการทำสื่อในวันนี้ ทำให้ได้ความรู้ว่า ทุกสื่อถือเป็นเกมการศึกษา ดังนั้น แต่ละภาพจำเป็นต้องมีสีหรือลักษณะเสมือนจริง ไม่ควรแต่งเติมตามจินตนาการมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้การเรียนรู้ของเด็กผิดเพี้ยนไปได้

เมื่ออาจารย์อธิบายวิธีการทำ และมีตัวอย่างให้ดู 
จากนั้นอาจารย์ก็มอบหมายให้แต่ละกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่ต้องทำในวันนี้ 

  • กลุ่มของดิฉันก็แบ่งหน้าที่กัน แบ่งหัวข้อว่าใครจะรับผิดชอบสื่อชิ้นใด แล้วก็ไปถ่ายเอกสาร จากนั้นก็ลงมือทำสื่อ ส่วนดิฉันได้ทำสื่อ "การจัดหมวดหมู่ (สัตว์)" 
 
  • เมื่อระบายสีเสร็จแล้ว ก็นำมาตัดตามขอบรูป และนำไปติดลงในกระดาษแข็ง เคลือบด้วยสติกเกอร์ใสอีกครั้งหนึ่ง 
มาดูกัน... ว่าเพื่อน ๆ ตั้งใจทำงานแค่ไหน !!!

 
 
 
 ผลงานของกลุ่มพวกเรา เป็นยังไงบ้างคะ :D
v
v
v

 จับคู่ภาพกับเงา 

 ภาพตัดต่อ

 สังเกตรายละเอียด

 
จับคู่ภาพเหมือน

จัดหมวดหมู่

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เมื่อได้ความรู้เรื่องการทำสื่อ ด้านเกมการศึกษามากขึ้น ก็ทำให้นำไปประดิษฐ์สื่อได้หลากหลายรูปแบบ ตามความต้องการที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ในแต่หน่วยการเรียนรู้ต่าง ๆ
  • สามารถนำไปทำเป็นสิ่งของอย่างอื่นได้ เช่น รูปภาพ ที่ระลึกในโอกาสต่าง ๆ
  • เป็นแนวทางให้ได้ต่อยอด พัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้น เมื่อทำงานในครั้งต่อ ๆ ไป
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : มีความตั้งใจ และรับผิดชอบงานที่ตนเองได้รับมอบหมาย ให้เสร็จทันเวลา
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม การทำงาน มีเสียงหัวเราะ สนุกสนาน ทำให้การทำงานในห้องเรียนไม่น่าเบื่อ มีความสุข
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน จึงทำให้งานเสร็จทันเวลา และอาจารย์ก็เป็นกันเอง ให้คำปรึกษา แนะนำนักศึกษาเมื่อเกิดความสงสัย
 



วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันพุธที่ 14 ตุลาคม 2558 เวลา 12.30-15.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

  • วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา จึงได้ปั๊มไก่เพิ่มมาอีก 1 ดวง 



  • กิจกรรมวันนี้คือ การทำสื่อกลุ่มละ 2 ชิ้น ชิ้นแรก... เป็นสื่อประกอบนิทานที่สามารถขยับหรือทำตัวละครให้นิทานให้เคลื่อนไหวได้ และชิ้นที่สอง... เป็นสื่อที่สามารถหมุนวงล้อที่เป็นวัฏจักรชีวิตของคน หรือสัตว์ชนิดต่าง ๆ



  • กลุ่มของดิฉันได้นิทานเรื่องเด็กเลี้ยงแกะ และวัฏจักรชีวิตของกบ ซึ่งในกลุ่มจะแบ่งกันทำงาน เพื่อให้งานเสร็จทันเวลาเรียน... อาจารย์มีกระดาษที่มีรูปภาพมาแล้ว ให้เราระบายสี หรือวาดรูปเพิ่มเติมได้ ให้สวยงามตามความต้องการ


>>  มาลงมือทำกันเลยดีกว่า !!! <<





  • เมื่อช่วยกันระบายสีเสร็จแล้ว ก็ไปปรึกษาอาจารย์ในการทำวงล้อให้หมุนได้ เพราะดิฉันรับผิดชอบทำวัฏจักรของกบ ซึ่งนอกจากจะได้ทักษะเรื่องการระบายสีมากขึ้น ยังทำให้รู้วิธีที่จะใส่ลูกเล่นในการทำสื่อเด็กปฐมวัยให้มีความน่าสนใจ โดยการหมุนวงล้อต่าง ๆ ได้ ถือเป็นการได้ใช้ประโยชน์ บูรณาการได้หลายอย่าง ในสื่อชิ้นเดียว




" ผลงานของพวกเรา สวยไหมคะ :D "



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ วิธีการต่าง ๆ ที่ได้จากการทำสื่อ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยได้ 
  • สามารถบูรณาการ หรือเป็นสื่อประกอบในการเรียน เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของเด็กได้มากขึ้น มีความเสมือนจริงมากขึ้น
  • สามารถนำไปประดิษฐ์สิ่งของ ในโอกาสต่าง ๆ ประยุกต์เป็นของขวัญ ของที่ระลึก ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และแปลกใหม่มากยิ่งขึ้น
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตั้งใจเรียน พยายามนำคำแนะนำของอาจารย์มาใช้ในการทำงาน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนน่ารักมาก ช่วยกันทำงานด้วยความตั้งใจ บรรยากาศในการทำงานก็สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อหรือทำให้เครียด
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมความพร้อมในการสอนมาดีมาก อำนวยความสะดวกให้นักศึกษา พร้อมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำ และลงมือทำเป็นตัวอย่าง ทำให้มีความเข้าใจมากขึ้น



วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4


วันพุธที่ 7 ตุลาคม 2558 เวลา 12.30-15.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

  • เริ่มการเรียนก็ปั๊มไก่เป็นอันดับแรก เพื่อให้รู้ว่าเข้าเรียนตรงเวลา


  • วันนี้กิจกรรมที่อาจารย์จะพาทำคือ การทำสื่อการสอนจากกระดาษแข็ง และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ทำให้สื่อนั้นมีลูกเล่นเพิ่มมากขึ้น คือการเคลื่อนไหวได้ ซึ่งอาจารย์ได้นำตัวอย่างมาให้ดู หลากหลายรูปแบบ เพื่อเป็นแนวทางในการทำผลงานของแต่ละกลุ่ม

  • จากนั้นอาจารย์ก็ทำให้ดูเป็นแบบอย่าง พอเป็นแนวทางให้นักศึกษา แล้วก็มอบหมายงาน 2 ชิ้น ให้แต่ละกลุ่มทำ โดยกลุ่มของดิฉัน มี 6 คน แบ่งกันทำชิ้นละ 3 คน เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ให้งานเสร็จทันเวลา แต่ก็สลับกันศึกษาวิธีการทำ ช่วยเหลือกัน

  • ฉันและเพื่อนอีก 2 คน ทำสื่อการสอนที่เป็นรูปลิง และสามารถขยับหัว/หางได้ 
  • ส่วนอีก 3 คน ก็ทำสื่อการสอน ลูกไก่ ฟักออกจากไข่ และสามารถขยับตัวไปมาได้ ในการทำกิจกรรมนั้น อาจารย์เข้ามามีส่วนร่วมในการทำเป็นแบบอย่างให้นักศึกษา ให้คำแนะนำต่าง ๆ ที่ดีมาก






  • จากการลงมือทำสื่อ ทำให้รู้เทคนิควิธีการต่าง ๆ ที่จะทำให้สื่อนั้น เคลื่อนไหวได้ โดยอาศัยการเจาะรู และใช้เอ็นพลาสติก เป็นตัวยึดหรือดึงให้ส่วนที่ต้องการเคลื่อนไหวได้








  • เมื่อทุกกลุ่มทำเสร็จ อาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ว่าผลงานนั้นคืออะไร เคลื่อนไหวอย่างไรได้บ้าง ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และแต่ละกลุ่ม ก็มีผลงานที่สวยงาม มีความคิดสร้างสรรค์แตกต่างกันไป



  • จากกิจกรรมในวันนี้ ทำให้ได้ความรู้เรื่องการทำสื่อที่มีความหลากหลาย น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ได้รู้เทคนิคที่จะทำให้สื่อเคลื่อนไหวได้ ซึ่งทำให้ดูแปลกใหม่ ดึงดูดความสนใจของเด็กมากขึ้น เมื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย

>> ..มาชมผลงานกันเร๊ว...<<




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  • สามารถนำมาทำสื่อการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย ได้ตามความต้องการ หรืออาจจะนำมาประกอบการเล่านิทานให้เด็ก ๆ ฟังก็ได้ เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจเด็กมากยิ่งขึ้น
  • สามารถนำมาทำเป็นของขวัญ หรือของที่ระลึกได้ ตามความต้องการ เพื่อให้ดูแปลกใหม่ น่ารัก ดูมีมูลค่ามากยิ่งขึ้น
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : มีความตั้งใจในการเรียน การทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากครู
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือกัน จนงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
ประเมินอาจารย์ : ประทับใจอาจารย์มาก ที่นอกจากจะทำให้ดูเป็นแนวทาง แล้วยังมาช่วย ลงมือทำกับนักศึกษา ให้คำแนะนำต่าง ๆ ที่จะทำให้งานออกมาดีที่สุด