Animated Blue Pencil Animated Blue Pencil

วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9


วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2558 เวลา 12.30-15.30 น.  

ความรู้ที่ได้รับ


  • วันนี้ เป็นการเรียนวิชาสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ครั้งสุดท้ายของภาคเรียน อาจารย์ได้นำตัวอย่างของการทำงานปลายภาคมาให้ดู เช่น ปฏิทินวันเกิด, บอร์ดสมาชิกในห้องเรียน, ป้ายนิเทศ เป็นต้น และได้มอบหมายให้ทำเป็นกลุ่ม แล้วนำผลงานมาจัดนิทรรศการในวันที่ 15 ธันวาคม 2558
  • งานที่ทำส่งวันนี้ คือ งานคู่ที่อาจารย์ได้มอบหมาย จะมี 2 ชิ้นงาน คือ สมุดเจาะรู เป็นคำและรูปภาพ และเพลงประกอบการเรียนการสอนเด็กปฐมวัย



  • จากนั้น ก็มอบหมายงานเดี่ยว ให้ทำส่งปลายภาค ซึ่งเป็นเกมการศึกษา โดยให้แต่ละคนเลือกทำ 2 กิจกรรม 


วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13.00-17.00 น.
(กิจกรรมทำตัวปั๊ม จากการแกะยางลบ)

  • กิจกรรมนี้ มีรุ่นพี่เอกการศึกษาปฐมวัยที่จบการศึกษาไปแล้ว มาเป็นวิทยากรหรือผู้พาทำกิจกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจมาก มาดูกันเลยว่าเป็นอย่างไร ? 

เพื่อน ๆ ปี 2 มีความตั้งใจ และกระตือรือร้นมาก มาร่วมกิจกรรมเต็มห้องเลย

นี่คือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการแกะยางลบ (น่ารักมาก) 
ประกอบด้วย ยางลบ, มีดแกะยางลบ, กระดาษรอง, ดินสอ, ตัวแบบในการวาดรูป, 
ที่รองการแกะยางลบ เป็นต้น

  • ต่อมา ก็จะเริ่มขั้นตอนการลงมือทำ โดยที่พี่ ๆ จะทำเป็นตัวอย่างก่อน พร้อมอธิบายเกี่ยวกับการทำไปด้วย ถือว่าเป็นการสอนทำแบบเป็นกันเองมาก เป็นการแชร์ประสบการณ์ให้ได้ฟังกันด้วย










  • การแกะยางลบในครั้งแรก ควรฝึกจากการแกะรูปง่าย ๆ มีรายละเอียดไม่เยอะก่อน แล้วค่อย ๆ ฝึกแกะรูปที่มีความยากมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งสามารถฝึกแกะจากรูปตัวแบบ หรือวาดเองก็ได้

เริ่มจากการแกะรูปก้อนเมฆ รูปดอกไม้ และยากขึ้นมาอีก คือ การแกะชื่อตนเอง
(ทุกคนตั้งใจมาก)


แท่น แทน แท๊น... !!! นี่คือผลงานของฉัน และเพื่อน ๆ 
ภูมิใจมาก ครั้งแรกในชีวิตกับการทำตัวปั๊ม ไม่คิดว่าตนเองจะทำได้ ตื่นเต้นสุด ๆ


  • จากนั้น พี่ ๆ ก็ให้ทุกคนเลือกแกะรูปอะไรก็ได้ตามใจชอบ แล้วนำมาส่ง เพื่อหาคนที่แกะได้สวยงาม ซึ่งจะมีการแจกรางวัล เป็นหมึกสีที่ใช้ในการปั๊มด้วย






โอ้โห !!! ไม่น่าเชื่อเลยว่าตนเองจะเป็น 1 ในผู้โชคดีที่จะได้รับรางวัลจากพี่ ๆ 
รู้สึกสนุก และภูมิใจมากในการทำกิจกรรม เพราะพยายามตั้งใจ เก็บเกี่ยวความรู้ที่พี่มามอบให้
>> อยากให้มีกิจกรรมแบบนี้อีกจัง <<




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  • การทำสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้เรียน ได้ทำมา สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้จริง และเมื่อได้เห็นความหลากหลายของแต่ละสื่อแล้ว ก็สามารถพัฒนาต่อยอดในการทำสื่อครั้งต่อไปให้ดีขึ้น แปลกใหม่ และสร้างสรรค์มากขึ้น เพื่อให้สื่อเป็นที่น่าสนใจ และส่งเสริมพัฒนาการต่าง ๆ ของเด็กได้อย่างรอบด้าน
  • จากกิจกรรมการทำตัวปั๊ม จากการแกะยางลบ ทำให้เรารู้ว่าเราสามารถทำตัวปั๊มได้เอง ในการตรวจงาน หรือให้คะแนนเด็ก ๆ แล้วแต่จะบูรณาการ โดยไม่ต้องซื้อตัวปั๊มที่ราคาแพง ๆ และยังมีความสนใจ ฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ ก็สามารถทำเป็นอาชีพเสริม หารายได้เสริมได้ด้วย 
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : มีความตั้งใจในการเรียน และการทำกิจกรรม ทำให้ผลงานออกมาเป็นที่น่าพึงพอใจสำหรับครู พี่ ๆ และตนเองด้วย
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม และตั้งใจในการเรียน ทำงานส่งตามที่ได้รับมอบหมาย ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาซึ่งกันและกัน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก เป็นกันเองกับนักศึกษาอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ให้คำแนะนำที่ดี เมื่อไม่เข้าใจก็่ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง และอยากขอบคุณอาจารย์ที่มีกิจกรรมดี ๆ ให้นักศึกษาได้ทำ ได้เรียนรู้ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียน การทำงาน รวมถึงบูรณาการในการใช้ชีวิตได้ด้วย




วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2558 เวลา 12.30-15.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

  • กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษาประดิษฐ์สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย จากวัสดุเหลือใช้ที่เตรียมมา โดยอาจารย์จะมีอุปกรณ์ต่าง ๆ อำนวยความสะดวกให้ เช่น กรรไกร กระดาษสี กาว ปากกาเมจิก เป็นต้น
มาเริ่มลงมือทำกันเลย !!!


ท๊าดา... ผลงานเสร็จแล้วค่ะ >,<
VVVV

VVV

VV

V


เมื่อทุกคนในห้อง ทำสื่อเสร็จหมดแล้ว อาจารย์ก็ให้ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน 
ว่าสื่อที่ทำชื่ออะไร ใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างไร ?

  • ชื่อสื่อ : กล่องวัน 
  • ใช้สอนอย่างไร ? : เป็นกิจกรรมเกมการศึกษา ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับ 1 สัปดาห์ มี 7 วัน และมีสีอะไรบ้าง ที่บอกลักษณะของแต่ละวัน เช่น 1 วันจันทร์ สีเหลือง, 2 วันอังคาร สีชมพู เป็นต้น
  • ทำมาจากวัสดุเหลือใช้อะไรบ้าง ? : 1. กล่องสบู่ 2. ฝาขวดน้ำ 
  • ส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้อย่างไร ? : ทำให้เด็กมีอารมณ์ที่ตื่นเต้น กระตือรือร้นต่อการเรียนรู้ เพราะถ้ายังไม่เปิดกล่องออกมา เด็กก็จะยังไม่เห็นสีของแต่ละวัน ด้านสังคม ก็สามารถจัดกิจกรรมเป็นกลุ่มให้เด็กได้เรียนรู้ร่วมกันได้ และด้านสติปัญญา ทำให้เด็กเกิดทักษะ เกิดความรู้เกี่ยวกับวัน สีของวันต่าง ๆ ใน  1 สัปดาห์ได้อย่างถูกต้อง
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. สามารถทำเป็นสื่ออย่างอื่น บูรณาการได้หลายวิชา เช่น คณิตศาสตร์ อาจจะเป็นการนับจำนวนตัวเลข และมีภาพประกอบตามจำนวน ทำให้เด็กได้รู้ค่า ปริมาณ ของตัวเลขต่าง ๆ ได้ด้วย, ศิลปะ-ดนตรี อาจจะเป็นแม่สีต่าง ๆ ผสมกันแล้ว จะเป็นสีอะไร หรือ เครื่องดนตรีพื้นฐานต่าง ๆ ที่เด็กคุ้นเคย เป็นต้น
  2. ใช้ประดิษฐ์เป็นสิ่งของที่ระลึก หรือของขวัญน่ารัก ๆ อย่างอื่นได้ ตามจินตนาการของตนเอง
  3. นำมาประดิษฐ์เป็นสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น ที่ใส่ดินสอ ปากกา หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย จึงสามารถทำให้งานเสร็จตามเวลาที่อาจารย์กำหนดได้
ประเมินเพื่อน : เพื่อนแต่ละคน มีจินตนาการ ความคิดที่แตกต่างกันไป ได้เรียนรู้สื่อแปลกใหม่จากเพื่อนมากขึ้น และบรรยากาศการทำงานก็สบาย ๆ ช่วยเหลือกัน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำปรึกษา และคำแนะนำที่ดีแก่นักศึกษา ทำให้สามารถจุดประกายความคิดที่จะนำไปพัฒนาต่อยอดได้